วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


เป็นไงพี่น้องไม่ส่งข่าวคราว


ได้ข่าวว่า รวยๆกันหมด


ใครทำอะไร เริ่มเมื่อไร


บอกกานบ้างนะ ถ้าเกี่ยวกับอลูมิเนียมก็เรียกนะอิอิ




Tod

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

ดีค่า
กลับมา ให้ Link upload อีกรอบคะ

http://www.4shared.com/file/102366323/d1c7f0c9/pic_250409.html

เป็นภาพนิ่งนะคะ วิดีโอมันเยอะ เด๋วว่าง ๆ up ให้คะ

อันนยอง

nuiiixy
หวัดดีค่า

เรียนจบแล้ว เอารูปวันเรียนวันสุดท้ายมาอัพเดทกัน
เสียดายวันไปสังสรรค์ไปน้อยกัน เข้าใจว่าติดงานกันคะ
คราวหน้านัดกันใหม่กะได้คะ พี่โอ๊ะรับผิดชอบ (55+)
ดูรูปกะคลิปบางส่วนกันไปก่อนนะคะ
เด๋ว upload ไว้ให้คะ ชัดบ้างไม่ชัดบ้างนะคะ กล้องมือถืออ่ะคะ
อย่าลืมเร่งแผน และ presentation นะคะ
ขอให้เสร็จกันเร็ว ๆ น้า fighting คะ








nuiiixy






วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2552

เด๋วจะเรียนจบแล้ว อยากให้ เจอกับบ้าง

อย่า nobody หละ

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

หลังจากที่เราเรียนด้วยกันมานาน ร่วม 2 เดือน จนอาทิตย์หน้าจะเป็นอาทิตย์สุดท้ายแล้ว

ดอทมีข้อเสนอว่าเราน่าจะไปสังสรรค์ฉลองความสำเร็จกันนิดนึงนะครับ
โดยให้ทุกคนออกความเห็นเลยครับว่าจะไปกันวันไหน และที่ไหนดีครับ

ดอทขอเริ่มเสนอวันอาทิตย์นี้เลย เพราะเป็นวันเรียนสุดท้าย สถานที่ก็ขอเป็น "คาราโอเกะ" นะครับ

ส่งมาเลยครับแล้วเดี๋ยวค่อยสรุปกันอีกที อย่าซีเรียสครับ เอามันๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

สวัสดีครับทุกคน
พอดีดอทได้ mail จากโกะว่ามีหนังสือดีๆมาแนะนำ ก็เลยเอามาลง blog ให้นะครับ เข้าไปตาม link เลยนะครับ

http://www.fpmconsultant.com/htm/book_new2.php?bid=119

เข้าไปดูเลยนะครับ ดอทดูแล้ว น่าสนใจมาก

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2552


เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม เห็นเงาของเมฆหรือเปล่า...









เมามันส์ มันส์เมา หนุกหนาน หนุกหนาน กับการไปทำงานคอนเสิร์ต กระทิงแดงไทยแลนด์ร็อค เก็บภาพบรรยากาศงาน และทะเลงาม ๆ มาฝากกัน














เคยเห็นแต่ " คนผีทะเล " แล้วคุณเคยเห็น " คีบอร์ดทะเล " อะยัง?










มุมมองจากเวทีไปชายหาด " หาดยาว "












แดดร่ม ลมป่วน หน้าดำไปตามๆ กัน





















นักร้องนำ The Rich Man Toy เสียงดีเชียว















อันนี้เบื้องหลัง Show Director
ส่วนอันนี้เบื้องหน้าวัน Sound Check (แบบว่าหน้ายังไม่ดำ เหอ ๆ )













แค่นี้ก่องน้า คราวหน้าจะชวนไปชมคอนเสิร์ตกัน อิอิ ...




วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

ไปทะเลกันดีกว่า..





ชวนเพื่อน ๆ ชมคอนเสิร์ตริมทะเลในงาน KTD Thailandrock Onthebeach
แบบว่าไม่ฟรีนะ...ลองเข้าไปดูในเวปไซส์ละกาน
เผื่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ กับ 35 วงร็อคอินดี้http://www.ktdthailandrock.com/beach/index.html

nuiiixy sexygirl
หวัดดีค้าบ...พี่น้อง
วันนี้เอ๋โดดเรียนแหละ เลยแวะเข้ามาเล่นใน blog
ทุกคนเปงไงบ้างคับ...วันนี้อย่าดื่มหนักนะ เด๊วพรุ่งนี้ไปเรียนไม่ไหว

RoHS มาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม


RoHS คืออะไร

RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าวโดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้

1.ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2.ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3.แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก

แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น

RoHS มีผลกับใครบ้าง

RoHS เป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ซื้อขายในสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี2006 แต่ในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็เริ่มที่จะกำหนดข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าท่านเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายดังกล่าว ก็ควรจะเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อกำหนดนี้ให้มากขึ้น เพราะในอนาคต ข้อกำหนดนี้ก็คงจะแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก

เลือกใช้อุปกรณ์ Pb-Free

สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นผู้ออกแบบวงจร สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free หรือ RoHS ได้ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกยี่ห้อ มักจะผลิตอุปกรณ์รุ่นที่เป็น Pb-Free ออกมาทดแทนอุปกรณ์รุ่นเก่า โดยอาจจะเพิ่มตัวอักษรเช่น ‘G’ เข้าไปใน Part Number แต่ยังคงมีมีฟังก์ชันการทำงานเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้ สิ่งที่แตกต่างจากเดิมก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถทนความร้อนสูงที่ใช้ในการะบวนการประกอบแผงวงจรได้ เนื่องจากสารที่ใช้เชื่อม (ตะกั่ว) ที่เป็นแบบ Pb-Free นี้ จะมีจุดหลอมเหลวที่สูงขึ้นกว่าแบบที่ไม่เป็น Pb-Free แต่สำหรับท่านที่ซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free มาแล้ว แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านข้อกำหนดดังกล่าว สามารถบัดกรีด้วยตะกั่วแบบธรรมดาได้ ซึ่งจะบัดกรีง่าย และสวยงามกว่า เนื่องจากตะกั่วธรรมดาจะละลายง่าย และมีความเงางามมากกว่าตะกั่วแบบ Pb-Free

แนวโน้ม RoHS ในประเทศไทย
ยังไม่มีการพูดถึงข้อกำหนดในลักษณะนี้มากนัก ดังนั้น หากท่านไม่ได้เป็นผู้ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าไปขายในต่างประเทศ ก็ยังไม่ต้องวิตกกังวล แต่ก็ควรจะศึกษาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อและใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอนาคตอุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free ก็คงจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และทดแทนอุปกรณ์แบบเก่าจนหมดไป

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

ยินดีต้อนรับคุณ เค NEC รุ่น 1 2009 ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนครับ

เพื่อนๆสามารถแวะเข้าไปชมเว็บไซท์ของคุณเคได้ที่ http://www.pikpod.com/ หรือเข้าไปคลิ๊กที่หัวข้อ

เว็บไซท์ของเพื่อนๆ -> เว็บไซท์สำหรับคนชอบฟังเพลงสากลแบบไม่มีเสียงดีเจกวนใจ โดยคุณ เค NEC รุ่น 1 pikpod@gmail.com

ซึ่งผมได้สร้าง link เอาไว้แล้วครับ

ปล. หากเพื่อนๆท่านใดมี web site ที่ได้สร้างไว้ และอยากประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆได้รู้จักสามารถแนะนำได้ครับ

ขณะนี้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สามารถโหลดตัวอย่างแผนธุรกิจได้แล้วครับ

ขณะนี้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ สามารถโหลดตัวอย่างแผนธุรกิจได้แล้วครับ โดยคลิ๊กเข้าไปที่

แหล่ง download -> ตัวอย่างแผนธุรกิจ

โดยท่านสามารถคลิ๊กเ้ลือกแผนธุรกิจที่ท่านสนใจ แล้่วคลิ๊กเลือก ที่

Free Download
(อาจต้องรอสักระยะหนึ่งให้ปุ่มสามารถกดได้ครับ) -> Download the file

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552

ร่วมพบปะสังสรรค์ และเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของพี่ โอ๊ะ

เรียนเชิญพี่ๆ น้อง NEC รุ่น 2 2009 ทุกท่าน ร่วมพบปะสังสรรค์ และเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดของ
พี่ โอ๊ะ ของน้องๆ
ในวันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2552 เวลา หลังเลิกเรียนถึงตีสอง
สถานที่: จะแจ้งอีกครั้งหนึ่ง
สนับสนุนค่าใช้จ่ายโดยการแชร์กันนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2552

รายจ่ายฝ่ายทุนหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แตกต่างจากรายจ่ายในการดำเนินงานอย่างไร

รายจ่ายฝ่ายทุนหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน แตกต่างจากรายจ่ายในการดำเนินงานอย่างไร
วิสัชนา ประเภทรายจ่ายทั้งสองดังกล่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือ ขาดทุนสุทธิทั้งในทางบัญชีและภาษีอากร ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับรายจ่ายทั้งสองประเภทได้ดังนี้

1. รายจ่ายฝ่ายทุนหรืออันมีลักษณะเป็นการลงทุน (Capital Expenditure) หมายถึง รายจ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่จะนำมาใช้ในการดำเนินการหรือเพื่อการ หารายได้ ซึ่งอาจแบ่งย่อยเป็น
(1) ทรัพย์สินถาวรที่มีรูปร่าง เช่น ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น
(2) ทรัพย์สินถาวรที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิการเช่า ค่าสัมปทาน ต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิทั้งปวง เป็นต้น
2. รายจ่ายในการดำเนินกิจการ หมายถึง รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจอันก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อจ่ายรายจ่ายดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ หากแต่ใช่สิ้นเปลืองหมดไป เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ เป็นต้น หรือแม้ได้กรรมสิทธิ์มาเป็นทรัพย์สินก็จะมีอายุการใช้งานไม่เกินหนึ่งรอบ ระยะเวลาบัญชี (12 เดือน) เช่น ไม้กวาด กระดาษชำระ น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น
ปุจฉา รายจ่ายฝ่ายทุนหรือรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนมีคุณสมบัติอย่างไร
วิสัชนา คุณสมบัติของรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน มีดังนี้
1. เป็นรายจ่ายที่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์หรือสิทธิใดๆ (Ownership Principle) ในทรัพย์สินแก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ตาม รวมทั้งสิทธิอื่นๆ อาทิ สิทธิการเช่า สิทธิการใช้งานในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในทางกฎหมายภาษีอากรเรียกว่า “เป็นรายจ่ายที่ก่อให้เกิดทุนรอน” แก่กิจการ รวมทั้งรายจ่ายในการต่อเติม ค่าเปลี่ยนแปลงสภาพของทรัพย์สิน รายจ่ายในการขยายออก และรายจ่ายในการทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นกว่าวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา
2. เป็นทรัพย์สินหรือแม้เป็นรายจ่ายที่จะไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หรือสิทธิใดๆ แต่มีอายุการใช้งานเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ตามหลักประโยชน์ใช้สอย (Benefit Principle) ซึ่งตามหลักการบัญชีกำหนดให้นำมาบันทึกบัญชีเป็นทรัพย์สิน และตัดค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา อันตรงกันกับข้อกำหนดทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่ห้ามมิให้นำมาถือเป็น รายจ่ายในการดำเนินงาน ตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ยอมให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในรูปของค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527
3. เป็นรายจ่ายที่มีนัยสำคัญ (Material Principle) กล่าวคือ เป็นรายจ่ายที่มีจำนวนเงินมากเพียงพอที่จะรับรู้เป็นทรัพย์สินของกิจการ เช่น จำนวนเงินที่จะรับรู้เป็นทรัพย์สินต้องมีจำนวนตั้งแต่เท่านั้นเท่านี้ อาทิ ไม่น้อยกว่า 2,000 บาท หรือ 10,000 บาท แล้วแต่กรณี ซึ่งเงื่อนไขหรือคุณสมบัติในประการนี้ ไม่เป็นที่ยอมรับในทางภาษีอากร

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

กรุณาแต่งตัวหล่อๆ สวยๆ เพื่อถ่ายรูปในวันเสาร์ อาทิตย์นี้ครับ

เรียนเพื่อนๆทุกท่าน ในวันเสาร์ อาทิตย์นี้ผมจะเอากล้อง web cam มาด้วยเพื่อถ่ายรูป กรุณาแต่งตัวหล่อๆ สวยๆ นะครับ และหากท่านใดมีกล้องความละเอียดสูงจะเอามาถ่ายรูปเพื่อนๆก็ยินดีนะครับ

วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2552

มูลค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR)

อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) หมายถึงอัตราลดค่า (discount rate) ที่ทำให้มูลค่าปัจจุบัน ของกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายในการลงทุน เท่ากับมูลค่าปัจจุบัน ของกระแส เงินสด ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ ประหยัดพลังงาน ตลอดอายุ โครงการ จากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหา อัตราผลตอบแทนลดค่า จะต้องทราบข้อมูลดังนี้
  1. กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ
  2. กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ
  3. ระยะเวลาของโครงการ

จากสูตรภายใต้ข้อสมมติว่าไม่มีมูลค่าซากและเงินลงทุนสุทธิเท่ากับต้นทุนทางบัญชี

จากสูตร



ในที่นี้
n = อายุของโครงการ(ปี)
ESt = ต้นทุนพลังงานที่ประหยัดได้ (energy cost savings) รายปี ตั้งแต่ปลายปีที่ 1 ถึง n
Io = เงินจ่ายลงทุนตอนเริ่มโครงการ(total investment)
IRR = อัตราผลตอบแทนภายใน (internal rate of return)


การคำนวณหาค่า IRR ก็คือการหาค่า discount rate ที่ทำให้ NPV มีค่าเท่ากับศูนย์ นั่นเอง ถ้าค่า IRR มากกว่า หรือ เท่ากับ ค่าของทุน discount rate (i) ที่ผู้ลงทุนเลือกใช้เป็นจุดตัดสินใจ ก็ถือได้ว่า โครงการ ดังกล่าว เป็นโครงการที่น่าลงทุน โดยทั่วไปแล้ว ทั้งวิธีในการประเมินโครงการจากค่า IRR และ NPV จะให้ผล การตัดสินใจรับโครงการ หรือปฏิเสธโครงการ เป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่ในบางกรณี ที่ใช้ข้อ สมมติ เช่น การนำเงินที่ได้ในแต่ละปี ไปลงทุนใหม่(reinvestment) หรือการใช้ วิธีหักค่าเสื่อมราคา แบบ Double-declining Balance Method แทนแบบ Straight LineMethod ก็อาจ ทำให้คำตอบ ที่ได้จากทั้ง 2 วิธีขัดแย้งกันได้ ดังนั้น การพิจารณาประเมินโครงการลงทุนจากทั้ง 2 วิธีจึงต้องคำนึงถึง ข้อสมมติ ที่ใช้ในการคำนวณ ด้วยเช่นกัน

มูลค่าอัตราผลตอบแทนภายใน หรือ (Internal Rate of Return: IRR) นี้เป็นตัวสะท้อนว่าหากดำเนินการลงทุนในโครงการนี้แล้วโครงการจะให้อัตรา ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นกับโครงการเป็นจำนวนเท่าใด หากอัตราผลตอบแทนนี้มีค่าสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราค่าเสียโอกาสของเงิน ลงทุนแล้ว การลงทุนในโครงการนั้นน่าจะเป็นที่ยอมรับได้

จุดคุ้มทุน (Breakeven point)

จุดคุมทุน (Breakeven point) คือ จุดที่รายรับจากยอดขายเทากับตนทุนทั้งหมดในการผลิต อาจแสดงเปนหนวย หรือระดับของปริมาณการผลิตจากกําลังผลิตที่มีอยู

จุดคุมทุนมีประโยชนอยางไร

การวิเคราะหหาจุดคุมทุนของการผลิตเปนการหาปริมาณหรือระดับสินคาที่ตองผลิตหรือขายที่กอใหเกิดการคุมทุนพอดี สามารถนํามาใชเปนเครื่องในการวิเคราะหความไวเพื่อใหทราบระดับกําลังผลิตที่กอใหเกิดการคุมทุนพอดีหากปจจัยตัวแปรเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังชวยใหทราบกําไร-ขาดทุน ณ ระดับกําลังผลิตตางๆ ไดดวย

การวิเคราะหจุดคุมทุนทําไดอยางไร

การวิเคราะหจุดคุมทุนจะตองอาศัยขอมูลประมาณการคาของตุนทุนคงที่ (Fixed Cost) ตนทุนผันแปร (Variable Cost) และรายรับ โดย

- ตนทุนคงที่ หมายถึง ตนทุนที่มีคาคงที่ตลอดถึงแมวาจะมีการผลิตมากหรือนอยหรือไมผลิตเลยก็ตาม ไดแก คาเครื่องจักร คาเสื่อมราคา เงินเดือน คาเชาสถานที่ เปนตน

- ตนทุนผันแปร หมายถึง ตนทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณสินคาที่ผลิต ไดแก คาวัตถุดิบและคาแรงงานทางตรง

- รายรับ มีคาเทากับ ปริมาณยอดขาย x ราคาสินคาตอหนวย

ขอสมมติฐาน

- การเพิ่มขึ้นของรายรับและตนทุนจะมีลักษณะเปนสมการเสนตรง แตในความเปนจริงปจจัยเหลานี้อาจไมใชสิ่งที่คงที่ยอมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

ตัวอยางการวิเคราะหหาจุดคุมทุน

ผูจัดการโรงงานแหงหนึ่ง มีสายการผลิตสินคาที่มีตุนทุนคงที่ 10,000 บาท และมีตนทุน ผันแปร 50 บาทตอหนวย โดยสามารถขายสินคาไดในราคา 75 บาทตอหนวย สามารถคํานวณหาจุดคุมทุนได ดังนี้

แสดงวาผูจัดการโรงงานแหงนี้ตองผลิตสินคาหรือขายสินคาใหไดอยางนอย 400 หนวย จึงจะคุมทุนพอดี โดยมีรายได ณ จุดคุมทุนเทากับ 30,000 บาท

ข้อพิจารณาในการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

จากความรูเรื่องจุดคุมทุน เมื่อเสนรายรับตัดกับเสนตนทุนรวมจะไดจุดคุมทุน ซึ่งหากผานจุดนี้ไปแลวจะทําใหไดกําไร หากยังไมถึงจุดดังกลาวนี้จะเปนชวงที่เกิดการขาดทุนในการ ดําเนินการ

การวิเคราะหเรื่องจุดคุมทุนจะสามารถพิจารณาเลือกใชกระบวนการผลิตที่เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยเสนตนทุนเปนเกณฑในการพิจารณา ไดแก ทําการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบหากระบวนการผลิตที่มีตนทุนต่ำที่สุด ในการผลิตสินคาออกมาในปริมาณตางๆกัน แตตองไมลืมวาตนทุนตางๆ สามารถเปลี่ยนแปลงไดในแตละชวงเวลา จุดคุมทุนที่ไดจึงเปนเพียงจุดคุมทุนภายใตสภาวะและชวงเวลาที่กําหนดเทานั้น หากมีปจจัยบางอยางเปลี่ยนแปลงอันสงผลใหตนทุนหรือราคาเปลี่ยนไป จุดคุมทุนก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปดวยเชนกัน

จุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period)

จุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period)

ทั้ง สองคำนี้ผู้ประกอบการมักเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน หรือบางคนก็ยังสับสนว่ามีความหมายและการใช้วิเคราะห์อย่างไร ซึ่งจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ทั้ง สองเรื่องนี้ไม่เหมือนกันและใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ตัดสินใจใน ประเด็นที่แตกต่างกัน โดยเครื่องมือทั้งสองนี้มีวิธีการหาที่ไม่ยุ่งยากนัก จึงขอทำความเข้าใจเพื่อสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างมี ประสิทธิภาพ

เริ่มจากจุดคุ้มทุน(Break Even Point) หมาย ถึง ระดับของยอดขายของกิจการที่เท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกิจการ ซึ่งก็คือจุดที่กิจการไม่มีผลกำไรหรือขาดทุนนั่นเอง โดยจุดคุ้มทุนจะสามารถหาได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการสามารถแยกได้ว่าค่าใช้ จ่ายของธุรกิจนั้นมีอะไรเป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรอย่างละเท่าไรบ้าง จากการคำนวณดังนี้

จุดคุ้มทุน (หน่วยขายที่คุ้มทุน) = ต้นทุนคงที่

ราคาขายต่อหน่วย-ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย

จุดคุ้มทุน (ยอดขายที่คุ้มทุน) = หน่วยขายที่คุ้มทุน x ราคาขายต่อหน่วย

หรือ ต้นทุนคงที่

อัตรากำไรส่วนเกิน

จะ เห็นได้ว่าการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนเป็นการวางแผนการทำกำไรจากการดำเนินงาน ของธุรกิจโดยมองที่ราคาขาย ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร โดยหากต้องการให้มีจุดคุ้มทุนที่ต่ำลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรก็สามารถทำได้โดย เพิ่มราคาขาย หรือลดต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ลง ซึ่งการใช้การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะใช้ในการวางแผนระยะสั้น ๆ เช่นต่อเดือนหรือต่อปีเป็นต้น

ส่วนระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) หมายถึง ระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดเข้าเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายลง ทุน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนจึงมองที่กระแสเงินสดรับ ไม่ใช่ตัวกำไรหรือขาดทุนของกิจการ โดย ณ จุดได้ที่ผลสะสมของกระแสเงินสดรับเท่ากับเงินลงทุนในครั้งแรกก็จะได้ระยะ เวลาคืนทุนนั้นเอง ยกตัวอย่าง ลงทุนในโครงการหนึ่ง ใช้เงินลงทุน 1,200,000 บาท จะให้กระแสเงินสดในแต่ละปีจำนวน 400,000 บาท เป็นเวลา 6 ปี ระยะเวลาคืนทุนก็คือ 3 ปี

การ วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนจึงเป็นการวิเคราะห์โครงการลงทุนที่มีระยะค่อนข้าง นาน และพิจารณาความเสี่ยงจากการลงทุน เพื่อใช้ในการเลือกโครงการลงทุน โดยดูจากระยะเวลาคืนทุนที่เร็วที่สุด เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงจากการลงทุนน้อยที่สุดด้วย แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ระยะเวลาการลงทุนเพียงอย่างเดียว ไม่เหมาะสมนักต้องใช้เครื่องมืออื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return) เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ในครั้งต่อไปอย่าลืมว่าไม่ใช่เรื่องเดียวกันและใช้เป็นเครื่องมือในการ วิเคราะห์ในกรณีที่ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบการจึงจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินการของธุรกิจได้อย่างถูก ต้องและเหมาะสมต่อไป

ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period)

ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) คือระยะเวลาที่ผลตอบแทนสุทธิจากการดำเนินงาน เท่ากับ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก

ตัวอย่างที่ 1
โครงการหนึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก 1,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปีละ 100 บาทเท่ากันทุกปี โครงการให้ผลตอบแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยได้รับในปีที่ 1,2,……5 เท่ากับ 300, 400, 500, 600 และ 700 บาทตามลำดับ โครงการนี้มีระยะเวลาคืนทุนเท่ากับเท่าไร



โครงการมีระยะเวลาคืนทุน 3 ปีกว่า โดย 3 ปีแรก ได้รับผลตอบแทน สุทธิจากการดำเนินงาน (200+300+400) เท่ากับ 900 บาท แต่มีค่าใช้จ่าย ในการลงทุนเริ่มแรก 1,000 บาท ส่วนที่เหลือจึงได้จากการเทียบบัญญัติไตรยางศ์

ผลตอบแทนสุทธิฯในปีที่ 4 จำนวน 500 บาท ใช้ระยะเวลา 12 เดือน

ผลตอบแทนสุทธิฯในปีที่ 4 จำนวน (1,000-900) =100 บาท ใช้ระยะเวลา 12*100/500 = 2.4 เดือน

ดังนั้น ระยะเวลาคืนทุนของโครงการนี้คือ 3 ปี กับ 2.4 เดือน โครงการนี้น่าลงทุน เพราะมีระยะเวลาคืนทุนเร็ว

ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) มีจุดอ่อนที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1) หลักเกณฑ์นี้ ไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของเงินตามเวลา (time value of money)
2) หลักเกณฑ์นี้ ไม่คำนึงถึงกระแสผลตอบแทนสุทธิจากการดำเนินงานหลังระยะเวลาคืนทุน โครงการที่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกน้อย อาจให้ระยะเวลาในการคืนทุนเร็ว ในขณะที่โครงการที่มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรกสูง มีระยะเวลาคืนทุนนาน อาจให้ผลตอบแทนเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนั้น การตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการที่มีระยะเวลาคืนทุนเร็ว อาจเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

การประเมินโครงการ

การประเมินโครงการมีวิธีใหญ่ ๆ 3 วิธี คือ
1. Pay Back Period เป็นการหาระยะเวลาคืนทุน
2. NPV การหา Cash Flow ของผลตอบแทนคิดกลับเป็น
มูลค่าหักปัจจุบัน ลบด้วย Cash Flow ที่ลงทุนออกไป
3. IRR เป็นการคิดหาผลตอบแทนของโครงการเมื่อ NPV = 0

ปกติ โครงการทั่ว ๆ ไป ค่าทั้งสามตัวจะสอดคล้องกัน คือ โครงการที่ดีที่สุด ก็จะมี IRR มากที่สุด NPV สูงที่สุด (ส่วน Pay Back Period เขาไม่นิยม เพราะมันไม่ได้คิดกลับเป็นมูลค่าปัจจุบัน มันไม่แฟร์ แม้ว่าจะมีการเกิดขึ้นของวิธี Discounted Pay Back Period แต่ก็ไม่นิยม เพราะ มันไม่ได้คิดผลตอบแทนทั้งโครงการ)

แต่ว่าจะเกิดกรณีขัดแย้ง ระหว่าง IRR และ NPV เมื่อเป็นโครงการที่เรียกว่า Mutually Exclusive Project คือ เป็นโครงการเช่น มีที่ดินแปลงหนึ่ง จะเลือกทำอะไรดี ระหว่างสร้างคอนโด กับสร้างบ้านจัดสรรขาย ถ้าเป็นแบบนี้ เขาจะเลือกใช้ NPV เพราะการลงทุนทั้งสองโครงการไม่เท่ากัน ดังนั้น โครงการที่ลงทุนน้อย อาจจะมี IRR สูง แต่ NPV ต่ำ ในขณะที่อีกโครงการลงทุนสูง อาจจะมี IRR ต่ำ แต่ NPV สูง ถ้าเรามีเงินลงทุนได้ทั้งสองโครงการ เขาให้เลือกใช้ NPV เพราะสิ่งที่เราต้องการจริง ๆ ก็คือเงินที่ได้จากการลงทุน ไม่ใช่ เปอร์เซ็นต์จากเงินลงทุน....

วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

สวัสดี เพื่อนๆๆพี่ๆๆขาว NEC V.2

น้องPink + Ta เราต้องทำโครงการส่งอาจารย์ ช่วยไรป่าว
พี่ โอ๊ะ
วันนี้ผมหยุด

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ หรือ Net Present Value (NPV)

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ หรือ Net Present Value (NPV) เป็นหลักการที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ ของโครงการ หรือพูดง่ายๆว่าความคุ้มค่าของการลงทุน โดยหลักการแล้วจะต้องมีการประมาณการกระแสเงินสดตลอดอายุของโครงการ จากจุดนี้จะเห็นว่า เราลงทุนในปีนี้ แต่กระแสเงินสดที่จะได้รับจากโครงการนั้นจะเข้ามาในอนาคต

และด้วย หลักการของมูลค่าของเงินตามเวลานั้นเราก็ทราบว่ากระแสเงินสดในอนาคตจะมีค่า ไม่เท่ากับกระแสเงินสดในปัจจุบันทำให้ไม่สามารถเอามูลค่าที่อยู่กันคนละเวลา มาหักกลบกันได้ ดังนั้นต้องมีการแปลงค่ากระแสเงินสดในอนาคตให้เป็นมูลค่าปัจจุบันก่อน จากนั้นหาผลรวมของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคต แล้วค่อยนำมาหักกลบกับเงินลงทุนที่ใช้ไปในปัจจุบัน จุดนี้แหละครับที่มักเป็นต้นตอของความเข้าใจผิดดังกล่าว

สูตรของ NPV

NPV = - CF0 + PV(CF1) + PV(CF2) + PV(CF3) + … + PV(CFn)

โดย
CF0 คือ เงินลงทุนที่ใช้ในปีปัจจุบัน
PV(CF1)…PV(CFn) คือ มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในปีที่ 1 – ปีสุดท้ายของโครงการ (ปีที่ n) ทั้งนี้

PV(CFi) = PV(CFi)/(1+Cost of Capital)^i

ลองดูกรณีตัวอย่างที่ง่ายที่สุดนะครับ (สำหรับคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องการเงินจะได้เข้าใจได้ง่ายๆด้วย)

สมมติ ว่า โครงการหนึ่งมีการลงทุน 100 บาท และผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทน 30% ต่อปี โครงการมีอายุ 1 ปี และคาดว่าโครงการจะสามารถหากระแสเงินสดได้เป็นจำนวน 130 บาทในอีก 1 ปีข้างหน้า

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ค่า NPV เท่ากับศูนย์ แต่แสดงว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มทุนพอดี (ไม่มีผลตอบแทนใดๆ) ใช่หรือไม่

คำตอบคือ ไม่ใช่ เนื่องจากจะเห็นได้ว่า โครงการใช้เงินลงทุน 100 บาท และผู้ลงทุนต้องการผลตอบแทน 30% ต่อปี และเป็นการลงทุนที่มีอายุแค่ 1 ปี ดังนั้นเมื่อสิ้นปีที่ 1 โครงการนี้จะต้องหาผลตอบแทนมาคืนผู้ลงทุนจำนวน 30 บาท และต้องคืนเงินลงทุน 100 บาท รวม 130 บาท ซึ่งเท่ากับกระแสเงินสดที่คาดว่าโครงการหาได้ ตามโจทย์คือ 130 บาทพอดี

ดัง นั้น จึงอาจจะสรุปได้ว่าการที่ค่า NPV = 0 มิได้แสดงว่าโครงการลงทุนนั้นๆไม่ได้กำไร หรือแค่คุ้มทุนเท่านั้น แต่หมายความถึงโครงการสามารถหาเงินมาจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนได้เท่ากับ ความคาดหวัง และยังสามารถชำระคืนเงินลงทุนให้ผู้ลงทุนได้ทั้งหมดพอดี

แม้ ว่าการลงทุนในโครงการที่มี NPV = 0 นั้นจะเพียงพอที่ทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนตามที่ได้คาดหวังไปแล้ว ทว่าในความเป็นจริงเรามักจะชอบที่จะลงทุนในโครงการที่ มี NPV มากกว่าศูนย์มากๆ นั่นก็เพราะ ค่า NPV นั้นคำนวณมาจากการประมาณการกระแสเงินสดของโครงการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน อนาคต ซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงเพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงใดๆ เกิดขึ้นในอนาคตหรือไม่ ดังนั้น ค่า NPV มากๆ ก็แสดงถึงความสามารถของโครงการที่จะรับมือกับความผันผวน ของกระแสเงินสดในอนาคตได้ (หรือเป็น safeguard) นอกจากนี้ ค่า NPV ที่มากกว่าศูนย์ยังสามารถถือได้ว่าเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการได้ เพราะ แค่ NPV เท่ากับศูนย์ผู้ลงทุนทุกคนก็ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดแล้ว ดังนั้น NPV ในส่วนที่เกินจากศูนย์จึงแสดงนัยว่าเป็นมูลค่าส่วนเกินที่บริษัทจะได้รับ เพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม การที่ NPV มีค่าสูงมากๆ เมื่อเทียบกับเงินลงทุนเริ่มต้น เช่น โครงการลงทุนแค่ 10 ล้านบาท แต่กลับคำนวณ NPV ได้ 100 ล้านบาท ก็มิได้หมายความถึงเป็นการลงทุนที่มีกำไรสูงมากเสมอไป โดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 99.99) กรณีแบบนี้กลับเป็นตัวชี้ว่าอาจจะมีการประมาณการกระแสเงินสดไม่สอดคล้องกับ ความเป็นจริง หรือประเมินผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังต่ำเกินไป หรือทั้งสองกรณี

มาถึงตอนท้ายนี้แล้ว ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงมีความเข้าใจที่กระจ่างมากขึ้นเกี่ยวกับ NPV และหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการประยุกต์ใช้เพื่อการดัดสินใจของท่านไม่มากก็ น้อย

กรุณารายงานตัวด้วยครับ

เพื่อนๆทุกท่าน ท่านใดที่สามารถเข้ามาใช้งาน Blog ได้แล้วกรุณารายงานตัวเองด้วยครับ

วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552

รายนามคณะกรรมการรุ่น 2 ครับ

ประธาน : คุณ บุญธรรม บุญครอง (ธรรม) 085-1214665
รองประธาน : คุณ กฤษฏา วิริยะเสริมสุข (กวง) 089-9245169
เลขา : คุณ ณชย ควรสมาคม (Polly) 084-6766444
เหรัญญิก : คุณ อัจฉรา รินสวัสดิ์ (อุ๊) 086-0283992
ประชาสัมพันธ์ : คุณ สมควร บุญช่วย (โอ๊ะ) 081-8693437
Web Master/ IT : คุณ เศวต ภูริวัฒนธรรม (ม้า) 085-0889399


เกมส์สันทนาการ(แก้เบื่อ)

ผมเลือกเกมส์ให้เพื่อนๆได้เล่นกันครับ
1. PACMAN
2. Zoma
3. Sudoku
หากเพื่อนๆอยากจะเล่นเกมส์ไหนก็สามารถแจ้งได้ครับ (จะพยายามหามาลงให้นะ)

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
SWOT มาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่
S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น

วิธีสมัคร gmail

วิธีสมัคร gmail

http://adsensebegin.blogspot.com/2007/08/gmail.html

สวัสดี blogger

8 มีนาคม 2552 12:55 ได้ทำการสร้าง blog ครั้งแรก
ยินดีต้อนร้ับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง

ผู้ติดตาม