อันนี้เบื้องหลัง Show Director
ส่วนอันนี้เบื้องหน้าวัน Sound Check (แบบว่าหน้ายังไม่ดำ เหอ ๆ )
แค่นี้ก่องน้า คราวหน้าจะชวนไปชมคอนเสิร์ตกัน อิอิ ...
กลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ New Entrepreneurs Creation(NEC) รุ่นที่ 2/2552 สถาบันคีนันแห่งเอเชีย
RoHS คืออะไร
RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหมายความรวมถึงเครื่องใช้ทุกชนิด ที่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการทำงาน เช่น โทรทัศน์ เตาอบไมโครเวฟ วิทยุ เป็นต้นซึ่งหมายความว่า ชิ้นส่วนทุกอย่างที่ประกอบเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ตั้งแต่แผงวงจร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงสายไฟ จะต้องผ่านตามข้อกำหนดดังกล่าวโดยสารที่จำกัดปริมาณในปัจจุบัน กำหนดไว้ 6 ชนิด ดังนี้
1.ตะกั่ว (Pb) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
2.ปรอท (Hg) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
3.แคดเมียม (Cd) ไม่เกิน 0.01% โดยน้ำหนัก
4.เฮกซะวาเลนท์ (Cr-VI) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
5.โพลีโบรมิเนต ไบเฟนนิลส์ (PBB) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
6.โพลีโบรมิเนต ไดเฟนนิล อีเธอร์ (PBDE) ไม่เกิน 0.1% โดยน้ำหนัก
แต่ก็มีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์บางอย่าง ที่ยังไม่สามารถใช้สารอื่นมาทดแทนได้ หรือสารที่ใช้ทดแทน มีอันตรายมากกว่า เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ ตะกั่วในเหล็กอัลลอย นอกจากนี้ เครื่องมือด้านการแพทย์ และการทหาร ก็อยู่ในข้อยกเว้น
RoHS มีผลกับใครบ้าง
RoHS เป็นข้อกำหนดที่บังคับใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ซื้อขายในสหภาพยุโรป ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี2006 แต่ในประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลี ก็เริ่มที่จะกำหนดข้อบังคับในลักษณะนี้เช่นกัน ดังนั้น ถ้าท่านเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายดังกล่าว ก็ควรจะเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อกำหนดนี้ให้มากขึ้น เพราะในอนาคต ข้อกำหนดนี้ก็คงจะแผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก
เลือกใช้อุปกรณ์ Pb-Free
สำหรับนักอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นผู้ออกแบบวงจร สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free หรือ RoHS ได้ โดยผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกยี่ห้อ มักจะผลิตอุปกรณ์รุ่นที่เป็น Pb-Free ออกมาทดแทนอุปกรณ์รุ่นเก่า โดยอาจจะเพิ่มตัวอักษรเช่น ‘G’ เข้าไปใน Part Number แต่ยังคงมีมีฟังก์ชันการทำงานเหมือนกัน สามารถใช้แทนกันได้ สิ่งที่แตกต่างจากเดิมก็คือ อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถทนความร้อนสูงที่ใช้ในการะบวนการประกอบแผงวงจรได้ เนื่องจากสารที่ใช้เชื่อม (ตะกั่ว) ที่เป็นแบบ Pb-Free นี้ จะมีจุดหลอมเหลวที่สูงขึ้นกว่าแบบที่ไม่เป็น Pb-Free แต่สำหรับท่านที่ซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free มาแล้ว แต่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผ่านข้อกำหนดดังกล่าว สามารถบัดกรีด้วยตะกั่วแบบธรรมดาได้ ซึ่งจะบัดกรีง่าย และสวยงามกว่า เนื่องจากตะกั่วธรรมดาจะละลายง่าย และมีความเงางามมากกว่าตะกั่วแบบ Pb-Free
แนวโน้ม RoHS ในประเทศไทย
ยังไม่มีการพูดถึงข้อกำหนดในลักษณะนี้มากนัก ดังนั้น หากท่านไม่ได้เป็นผู้ออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าไปขายในต่างประเทศ ก็ยังไม่ต้องวิตกกังวล แต่ก็ควรจะศึกษาไว้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อและใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในอนาคตอุปกรณ์ที่เป็น Pb-Free ก็คงจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และทดแทนอุปกรณ์แบบเก่าจนหมดไป
จุดคุมทุน (Breakeven point) คือ จุดที่รายรับจากยอดขายเทากับตนทุนทั้งหมดในการผลิต อาจแสดงเปนหนวย หรือระดับของปริมาณการผลิตจากกําลังผลิตที่มีอยู
จุดคุมทุนมีประโยชนอยางไร
การวิเคราะหหาจุดคุมทุนของการผลิตเปนการหาปริมาณหรือระดับสินคาที่ตองผลิตหรือขายที่กอใหเกิดการคุมทุนพอดี สามารถนํามาใชเปนเครื่องในการวิเคราะหความไวเพื่อใหทราบระดับกําลังผลิตที่กอใหเกิดการคุมทุนพอดีหากปจจัยตัวแปรเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ยังชวยใหทราบกําไร-ขาดทุน ณ ระดับกําลังผลิตตางๆ ไดดวย
การวิเคราะหจุดคุมทุนทําไดอยางไร
การวิเคราะหจุดคุมทุนจะตองอาศัยขอมูลประมาณการคาของตุนทุนคงที่ (Fixed Cost) ตนทุนผันแปร (Variable Cost) และรายรับ โดย
- ตนทุนคงที่ หมายถึง ตนทุนที่มีคาคงที่ตลอดถึงแมวาจะมีการผลิตมากหรือนอยหรือไมผลิตเลยก็ตาม ไดแก คาเครื่องจักร คาเสื่อมราคา เงินเดือน คาเชาสถานที่ เปนตน
- ตนทุนผันแปร หมายถึง ตนทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณสินคาที่ผลิต ไดแก คาวัตถุดิบและคาแรงงานทางตรง
- รายรับ มีคาเทากับ ปริมาณยอดขาย x ราคาสินคาตอหนวย
ขอสมมติฐาน
- การเพิ่มขึ้นของรายรับและตนทุนจะมีลักษณะเปนสมการเสนตรง แตในความเปนจริงปจจัยเหลานี้อาจไมใชสิ่งที่คงที่ยอมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา
ตัวอยางการวิเคราะหหาจุดคุมทุน
ผูจัดการโรงงานแหงหนึ่ง มีสายการผลิตสินคาที่มีตุนทุนคงที่ 10,000 บาท และมีตนทุน ผันแปร 50 บาทตอหนวย โดยสามารถขายสินคาไดในราคา 75 บาทตอหนวย สามารถคํานวณหาจุดคุมทุนได ดังนี้
แสดงวาผูจัดการโรงงานแหงนี้ตองผลิตสินคาหรือขายสินคาใหไดอยางนอย 400 หนวย จึงจะคุมทุนพอดี โดยมีรายได ณ จุดคุมทุนเทากับ 30,000 บาท
ข้อพิจารณาในการนําความรู้ไปประยุกต์ใช้
จากความรูเรื่องจุดคุมทุน เมื่อเสนรายรับตัดกับเสนตนทุนรวมจะไดจุดคุมทุน ซึ่งหากผานจุดนี้ไปแลวจะทําใหไดกําไร หากยังไมถึงจุดดังกลาวนี้จะเปนชวงที่เกิดการขาดทุนในการ ดําเนินการ
จุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period)
ทั้ง สองคำนี้ผู้ประกอบการมักเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องเดียวกัน หรือบางคนก็ยังสับสนว่ามีความหมายและการใช้วิเคราะห์อย่างไร ซึ่งจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ทั้ง สองเรื่องนี้ไม่เหมือนกันและใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ตัดสินใจใน ประเด็นที่แตกต่างกัน โดยเครื่องมือทั้งสองนี้มีวิธีการหาที่ไม่ยุ่งยากนัก จึงขอทำความเข้าใจเพื่อสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างมี ประสิทธิภาพ
เริ่มจากจุดคุ้มทุน(Break Even Point) หมาย ถึง ระดับของยอดขายของกิจการที่เท่ากับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกิจการ ซึ่งก็คือจุดที่กิจการไม่มีผลกำไรหรือขาดทุนนั่นเอง โดยจุดคุ้มทุนจะสามารถหาได้ก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการสามารถแยกได้ว่าค่าใช้ จ่ายของธุรกิจนั้นมีอะไรเป็นต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปรอย่างละเท่าไรบ้าง จากการคำนวณดังนี้
จุดคุ้มทุน (หน่วยขายที่คุ้มทุน) = ต้นทุนคงที่
จุดคุ้มทุน (ยอดขายที่คุ้มทุน) = หน่วยขายที่คุ้มทุน x ราคาขายต่อหน่วย
อัตรากำไรส่วนเกิน
จะ เห็นได้ว่าการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนเป็นการวางแผนการทำกำไรจากการดำเนินงาน ของธุรกิจโดยมองที่ราคาขาย ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร โดยหากต้องการให้มีจุดคุ้มทุนที่ต่ำลง เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไรก็สามารถทำได้โดย เพิ่มราคาขาย หรือลดต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่ลง ซึ่งการใช้การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะใช้ในการวางแผนระยะสั้น ๆ เช่นต่อเดือนหรือต่อปีเป็นต้น
ส่วนระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) หมายถึง ระยะเวลาที่ได้รับผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดเข้าเท่ากับกระแสเงินสดจ่ายลง ทุน โดยไม่คำนึงถึงเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนจึงมองที่กระแสเงินสดรับ ไม่ใช่ตัวกำไรหรือขาดทุนของกิจการ โดย ณ จุดได้ที่ผลสะสมของกระแสเงินสดรับเท่ากับเงินลงทุนในครั้งแรกก็จะได้ระยะ เวลาคืนทุนนั้นเอง ยกตัวอย่าง ลงทุนในโครงการหนึ่ง ใช้เงินลงทุน 1,200,000 บาท จะให้กระแสเงินสดในแต่ละปีจำนวน 400,000 บาท เป็นเวลา 6 ปี ระยะเวลาคืนทุนก็คือ 3 ปี
การ วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนจึงเป็นการวิเคราะห์โครงการลงทุนที่มีระยะค่อนข้าง นาน และพิจารณาความเสี่ยงจากการลงทุน เพื่อใช้ในการเลือกโครงการลงทุน โดยดูจากระยะเวลาคืนทุนที่เร็วที่สุด เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงจากการลงทุนน้อยที่สุดด้วย แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์การลงทุนโดยใช้ระยะเวลาการลงทุนเพียงอย่างเดียว ไม่เหมาะสมนักต้องใช้เครื่องมืออื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value) อัตราผลตอบแทนภายในโครงการ (Internal Rate of Return) เป็นต้น
ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ในครั้งต่อไปอย่าลืมว่าไม่ใช่เรื่องเดียวกันและใช้เป็นเครื่องมือในการ วิเคราะห์ในกรณีที่ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบการจึงจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินการของธุรกิจได้อย่างถูก ต้องและเหมาะสมต่อไป